ไบรอัน เมย์ คืออะไร

ไบรอัน ฮาโรลด์ เมย์ () เกิดเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1947 ที่เมืองมิดเดิลเซกส์ ในประเทศอังกฤษ เข้าเรียนที่โรงเรียน Hampton Grammar School และเขาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่ Imperial College London มหาวิทยาลัยชื่อดังของอังกฤษ ในสาขาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์

เขาได้พบกับ โรเจอร์ เทเลอร์ เพื่อนมือกลองของจากต่างมหาวิทยาลัย ที่ในขณะนั้นโรเจอร์ เทเลอร์กำลังศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยแพทย์ London Hospital Medical College พวกเขาได้ขึ้นแสดงดนตรีและร้องเพลงด้วยกันอยู่พักใหญ่ จนกระทั่งมือเบสของวงในตอนนั้น ได้ขออกจากวง พวกเขาทั้งสองยังคงตัดสินใจที่จะเดินหน้าเล่นดนตรีต่อไปเรื่อย ๆ จนพบกับ หนุ่มสายเลือดอินเดียที่เกิดในแอฟริกาชื่อว่า ฟารุค บัลซารา หรือที่เรารู้จักกันในนาม เฟรดดี เมอร์คูรี นักร้องคนใหม่ของวง และต่อมาอีกไม่นานก็ได้มือเบสคนใหม่ที่ชื่อว่า จอห์น ดีคอน เข้ามาร่วมวง (ไม่แน่ใจว่าในตอนนั้นไบร์อันให้ทำข้อสอบก่อนเข้าร่วมวงไหม เพราะแต่ละคนฉลาดไม่ธรรมดากันเลยทีเดียว)

พวกเขาทั้ง 4 คนได้ร่วมตัวกันเป็นวงดนตรีขึ้นมาอีกครั้งในนาม Queen พวกเขาออกตระเวนเล่นดนตรีตามคลับต่าง ๆ รวมไปถึงคลับชื่อดัง The Marquee คลับชื่อดังในลอนดอนด้วย หลังจากนั้นพวกเขาก็ได้ทำเพลงขึ้นมา 5 เพลงเพื่อยื่นเสนอให้กับค่ายเพลงต่าง ๆ แต่ก็ไม่มีค่ายไหนยินยอมให้เซ็นสัญญา จนกระทั่งพวกเขาได้รู้จักกับ Norman และ Barry Sheffield ซึ่งเป็นเจ้าของห้องบันทึกเสียง Trident Stidios โดยมีข้อแม้ว่าพวกจะได้ใช้ห้องอัดนั้นก็ต่อเมื่อห้องอัด ไม่มีคิวที่จะอัดแล้ว จึงจะได้อัด นั้นทำให้การอัดนั้นลากยาวมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนจนถึงเดือนพฤศจิกายน ปี 1972

ในปีต่อมาอัลบั้มแรกของพวกเขาก็ได้ถูกเผยแพร่ต่อประชาชน พวกเขาได้รับทั้งคำชมและคำด่าอย่างหนัก แต่ยอดขายกลับไม่สวยงามอย่างที่คิดไว้ ต่อมาอัลบั้มที่ 2 ของพวกเขาก็ได้วางขายในตลาดอีกครั้ง และเริ่มประสบความสำเร็จขึ้นมาบ้าง จนกระทั่ง Sheer Heart Attack ผลงานในปี 1977 ทำให้พวกเขาได้รับความนิยมไปทั่วยุโรปและอเมริกา แถมยังขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ในอังกฤษอีกด้วย และต่อมาพวกเขาก็ได้ออกอัลบั้ม News Of The World ที่มีบทเพลงเชียอมตะเช่น We Will Rock You และเพลง We Are The Championsซึ่งเป็นเพลงที่เปิดตลอดเมื่อจบการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ และก็ยังเป็นที่ติดหูมาจนถึงในสมัยปัจจุบันนี้

วิทยานิพนธ์

ในช่วงเวลาที่เขาใช้ชีวิตอยู่บนทางแห่งเสียงดนตรีและเสียงเพลงนั้น ไบรอัน เมย์ยังเรียนไม่จบ เขายังอยู่ในช่วงการศึกษาต่อปริญญาเอกในสาขาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัย Imperial College London โดยเขาได้ทำการศึกษาเรื่องแสงตกกระทบของฝุ่นระหว่างดวงดาวและความเร็วของแนวฝุ่นในระบบสุริยะ แต่ภาระหน้าที่ในวง Queen นั้นทำให้เขาวางมือการเป็นดอกเตอร์เอาไว้ก่อนแล้วหันไปใส่ใจกับการแสดงคอนเสริตที่อเมริกาแทน

โดยงานวิทยานิพนธ์ของเขาที่ดองมาเป็นเวลา 30 ปีนั้น มีชื่อว่า A Survey of Radial Velocities in the Zodiacal Dust Cloud ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ ฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ ซึ่งฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์เหล่านี้ทำให้แสงอาทิตย์เกิดการกระเจิง เรียกกันว่า “แสงจักรราศี” สำหรับใครที่อยากจะศึกษาวิทยานิพนธ์อันคงกระพัน 30 ปีของนักกีต้าร์ชื่อดังก็สามารถดาวน์โหลดได้ ที่นี่

สำรวจดาวพลูโต

ในฐานะนักกีต้าร์ของวง Queen แล้วหลังจากการแสดงบนเวที เขาก็ได้ใช้เวลาช่วงนั้นในทีมยานอวกาศนิวฮอร์ไรซอนส์ (New Horizons) ซึ่งไบรอัน เมย์ ก็ได้โพสเกี่ยวกับประสบการณ์การการทำงานของเขาที่ไม่มีวันลืมเลื่อนใน 3 วันกับทีมงานนิวฮอร์ไรซอนส์ เขาได้ขอบคุณ Alan Stern หัวหน้าทีมวิทยาศาสตร์ของ ALP ในเมือง Laurel รัฐ Maryland ที่ทำให้เขามั่นใจว่าเขาได้รับการปฏิบัติเหมือนกับว่าเขาเป็นครอบครัวคนหนึ่งและในฐานะผู้ร่วมงานกัน

แล้วนอกจากที่เขาช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลนั้น เขายังได้ทำภาพสเตอริโอที่มีคุณภาพสูงของดาวพลูโตเป็นครั้งแรก ซึ่งเขาได้โพสในวันจันทร์ ที่ 20 เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2015 ในเว๊บไซต์ของเขาเอง

ตอนนี้เราสามารถพูดได้ว่านี้คือภาพสเตอริโอของดาวพลูโตที่มีคุณภาพสูงที่สุด เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของดาวพลูโตที่เคยถ่ายรูปมา เพราะภาพทางขวานี้เป็นภาพรูปลักษณ์ล่าสุดที่ถ่ายได้เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2015 จาก NH และรูปทางด้านซ้ายได้ทำการดาวน์โหลดจาก NH เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2015 ส่วนไบรอัน เมย์แค่ปรับทิศทางของรูปเพื่อให้เข้ากันได้ดีขึ้น และปรับแต่งสีให้เข้ากันได้อย่างสวยงาม

ผู้พาเพื่อนผู้ล่วงลับให้โลกจดจำตลอดกาลในฐานะดวงดาว

นอกจากไบรอัน เมย์ หรือถ้าจะเรียกให้ดีขึ้นก็คือ ดร.ไบรอัน เมย์ เรียนจบปริญญาเอกด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์จาก Imperial College London เขาได้ศึกษาข้อมูลด้านดาวเคราะห์น้อย และเป็นส่วนหนึ่งของผู้ก่อตั้ง “วันดาวเคราะห์น้อย” เพื่อกระตุ้นสำนึกต่อภัยอันตรายจากดาวเคราะห์น้อยที่จะมาชนโลก

ในการสำรวจดาวเคราะห์น้อย หมายเลข 17473 เป็นดาวเคราะห์น้อยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.5 กิโลเมตร มันโคจรอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ถูกค้นพบโดย H. Debehogne จากหอดูดาว ESO‘s La Silla Observatory ในประเทศชิลี เมื่อวันที่ 21 เดือนมีนาคมปี ค.ศ. 1991 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่เฟร็ดดี นักร้องนำวง Queen ได้เสียชีวิตลง

ไบรอัน เมย์ เขาได้ประกาศกับแฟน ๆ กว่า 1,250 คน ในงานแสดงดนตรีที่สวิสเซอร์แลนด์ว่า ดาวเคราะห์น้อย 17473 ได้รับชื่อว่า “Freddiemercury” ตามนักร้องนำวง Queen ผู้ล่วงลับ ในโอกาสครบรอบวันคล้ายวันเกิด 70 ปีของเขา ส่วนด้านล่างนี้คือคลิปวีดีโอที่ ไบรอัน เมย์ ได้พูดถึงดาวเคราะห์น้อยเฟรดดี เมอร์คิวรี่

นอกจากดาวเคราะห์น้อย 17473 Freddiemercury ที่ตั้งตามชื่อนักร้องนำของวง Queen แล้ว ก่อนหน้านี้ยังมีดาวเคราะห์น้อยอีกดวงหนึ่งที่ตั้งตามชื่อนักกีต้าร์ของวง Queen นั้นก็คือ ดาวเคราะห์น้อย 52665 Brianmay ซึ่งชื่อนี้ถูกเสนอโดย เซอร์แพทริค มัวร์ เพื่อนนักดาราศาสตร์ของเขาเอง และนั้นทำให้ ไบรอัน เมย์ ได้กลายเป็นนักดนตรีคนแรกที่มีชื่อตัวเองเป็นชื่อดาวเคราะห์น้อยที่ถูกค้นพบในปี 1988

หนังสือแทนใจจากไบรอัน เมย์

นอกจากผลงานที่กล่าวมาทั้งหม��แล้ว ไบรอัน เมย์ ยังได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับดาราศาสตร์ร่วมกับเพื่อน ๆ ของเขา นั้นก็คือ Bang! – The Complete History of the Universe ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2006 ในหนังสือเล่มนี้ไบรอันได้พูดถึงต้นกำเนิดจักรวาล ในสมัยก่อนหน้านี้ 13.7 พันล้านปี กล่าวถึงวิวัฒนาการของจักรวาลและสรรพสิ่งต่าง ๆ ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ หลุมดำ ควาซาร์ สสารต่าง ๆ รวมไปถึงเขาได้พูดถึงจุดสิ้นสุดของกาลเวลาไว้ในเล่มนี้อีกด้วย

และในปี ค.ศ. 2012 ไบรอัน เมย์และเพื่อน ๆ ของเขาได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง The Cosmic Tourist อีกเล่ม ด้านในหนังสือจะให้อารมณ์เหมือนกับพวกเขาทั้งสามคน ไบรอัน เมย์,  คริส ลินต็อตต์และแพท มัวร์ พาคนที่อ่านไปเที่ยวอวกาศ สถานที่ในอวกาศที่น่าตื่นตาตื่นใจ ตั้งแต่ดาวเคราะห์น้อยไปจนถึงกาแลกซีที่อยู่ห่างไกลจากเรามากที่สุด นำเสนอความสวยงามที่พวกเขาได้พบ จากการดูกล้องโทรทรรศน์ที่ดีที่สุดหรือบางรูปอาจจะเป็นรูปที่ถ่ายโดยพวกเขาเอง

สำหรับใครที่อยากได้หนังสือทั้งสองเล่มนี้ไปครอบครอง ในปัจจุบันนี้สามารถสั่งซื้อทางออนไลน์ ในเว๊บไซต์ Amazon (คลิ๊กที่นี้) ในราคาเพียง 29.38 เหรียญสหรัฐ หรือจะคิดเป็นเงินไทยประมาณ 944 บาท

ภาพยนตร์เรื่อง Bohemian Rhapsody ภาพยนตร์ที่สร้างจากชีวิตจริงของวงดนตรีชื่อดัง Queen โดยหนังเรื่อง Bohemian Rhapsody นั้นเป็นเหมือนการเฉลิมฉลองความเป็นตำนานของวง Queen วงร็อคที่เปลี่ยนโฉมหน้าและปฏิวัติวงการเพลงไปตลอดกาล ด้านล่างนี้เป็นวีดีโอแนะนำภาพยนตร์และตัวอย่างภาพยนตร์เรื่องนี้ไบรอัน เมย์ เกิดเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1947 ที่เมืองมิดเดิลเซกส์ ในประเทศอังกฤษ เข้าเรียนที่โรงเรียน Hampton Grammar School และเขาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่ Imperial College London มหาวิทยาลัยชื่อดังของอังกฤษ ในสาขาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์

เขาได้พบกับ โรเจอร์ เทเลอร์ เพื่อนมือกลองของจากต่างมหาวิทยาลัย ที่ในขณะนั้นโรเจอร์ เทเลอร์กำลังศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยแพทย์ London Hospital Medical College พวกเขาได้ขึ้นแสดงดนตรีและร้องเพลงด้วยกันอยู่พักใหญ่ จนกระทั่งมือเบสของวงในตอนนั้น ได้ขออกจากวง พวกเขาทั้งสองยังคงตัดสินใจที่จะเดินหน้าเล่นดนตรีต่อไปเรื่อย ๆ จนพบกับ หนุ่มสายเลือดอินเดียที่เกิดในแอฟริกาชื่อว่า ฟารุค บัลซารา หรือที่เรารู้จักกันในนาม เฟรดดี เมอร์คูรี นักร้องคนใหม่ของวง และต่อมาอีกไม่นานก็ได้มือเบสคนใหม่ที่ชื่อว่า จอห์น ดีคอน เข้ามาร่วมวง (ไม่แน่ใจว่าในตอนนั้นไบร์อันให้ทำข้อสอบก่อนเข้าร่วมวงไหม เพราะแต่ละคนฉลาดไม่ธรรมดากันเลยทีเดียว)

พวกเขาทั้ง 4 คนได้ร่วมตัวกันเป็นวงดนตรีขึ้นมาอีกครั้งในนาม Queen พวกเขาออกตระเวนเล่นดนตรีตามคลับต่าง ๆ รวมไปถึงคลับชื่อดัง The Marquee คลับชื่อดังในลอนดอนด้วย หลังจากนั้นพวกเขาก็ได้ทำเพลงขึ้นมา 5 เพลงเพื่อยื่นเสนอให้กับค่ายเพลงต่าง ๆ แต่ก็ไม่มีค่ายไหนยินยอมให้เซ็นสัญญา จนกระทั่งพวกเขาได้รู้จักกับ Norman และ Barry Sheffield ซึ่งเป็นเจ้าของห้องบันทึกเสียง Trident Stidios โดยมีข้อแม้ว่าพวกจะได้ใช้ห้องอัดนั้นก็ต่อเมื่อห้องอัด ไม่มีคิวที่จะอัดแล้ว จึงจะได้อัด นั้นทำให้การอัดนั้นลากยาวมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนจนถึงเดือนพฤศจิกายน ปี 1972

ในปีต่อมาอัลบั้มแรกของพวกเขาก็ได้ถูกเผยแพร่ต่อประชาชน พวกเขาได้รับทั้งคำชมและคำด่าอย่างหนัก แต่ยอดขายกลับไม่สวยงามอย่างที่คิดไว้ ต่อมาอัลบั้มที่ 2 ของพวกเขาก็ได้วางขายในตลาดอีกครั้ง และเริ่มประสบความสำเร็จขึ้นมาบ้าง จนกระทั่ง Sheer Heart Attack ผลงานในปี 1977 ทำให้พวกเขาได้รับความนิยมไปทั่วยุโรปและอเมริกา แถมยังขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ในอังกฤษอีกด้วย และต่อมาพวกเขาก็ได้ออกอัลบั้ม News Of The World ที่มีบทเพลงเชียร์อมตะเช่น We Will Rock You และเพลง We Are The Champions ซึ่งเป็นเพลงที่เปิดตลอดเมื่อจบการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ และก็ยังเป็นที่ติดหูมาจนถึงในสมัยปัจจุบันนี้

อ้างอิง

แหล่งที่มาดั้งเดิม: ${vars.title} แบ่งปันกับ ใบอนุญาต Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0

หมวดหมู่